ประชาคมประชานฤมิตร ถนนสายไม้

ซุ้มประตูทางเข้า ถนนสายไม้
ประชาคมประชานฤมิตร – ถนนสายไม้

ศูนย์รวมงานเฟอร์นิเจอร์งานศิลปะ ชุมชนประชานฤมิตร เป็นชุมชนเก่าแก่ตั้งอยู่ใกล้แม่นํ้าเจ้าพระยา ในซอยประชานฤมิตร 24 ซึ่งเดิมเคยมีลักษณะเป็นสวนป่า คนในชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ยกร่องทําสวน การเดินทางยังคงใช้แม่นํ้าเป็นทางสายหลักจนกระทั่งคุณลุงเฉลิม สุขมาก ซึ่งเป็นคนเก่าแก่ในชุมชนได้ริเริ่มสร้างถนนเป็นครั้งแรก โดยการปรึกษากับเจ้าของที่ดินในสมัยนั้นแล้วมีความเห็นพ้องต้องกัน จึงได้ช่วยกันขอที่ดินจากเจ้าของที่ดินติดถนน ซึ่งชาวบ้านส่วนใหญ่ให้ความร่วมมือดี จนกระทั่งทางสํานักงานเขตได้มาลาดยางให้ในปี พ.ศ.2504 และตั้งชื่อให้ว่า “ซอยร่วมสุข”

ด้วยเหตุที่ชุมชนติดแม่นํ้าเจ้าพระยาซึ่งใช้เป็นเส้นทาง ล่องซุงมาจากทางภาคเหนือ และมีโรงเลื่อยไม้ตั้งอยู่บริเวณท่านํ้าวัดบางโพเรียงเรื่อยขึ้นไปทางนนทบุรีตลอดแนว ย่านนี้จึงเป็นแหล่งรวมไม้แปรรูปทุกชนิดและเป็นสิ่งดึงดูดให้ช่างไม้จากที่ต่างๆเข้ามารวมอยู่ในซอยประชานฤมิตร เมื่อมีการรวมตัวของช่างไม้ ก็เป็นแรงดึงดูดให้ผู้ที่ขายวัตถุดิบที่ใช้ในการทํ าเฟอร์นิเจอร์มารวมตัวอยู่ด้วยเช่นกัน ในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา ชุมชนเริ่มเปลี่ยนมาทํ าการค้า ทําเฟอร์นิเจอร์เป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือน จนเป็นแหล่งการค้าที่มีชื่อเสียง เป็นที่รู้จักกันทั่วไป มีรถวิ่งเข้าออกมากจนทําให้ถนนทรุด ทางราชการจึงมาปรับปรุงถนนให้หลายครั้ง และเปลี่ยนชื่อมาเป็น “ซอยประชานฤมิตร” จากอุตสาหกรรมในครัวเรือนเล็กๆ จึงมีการขยายการผลิตตอบสนองลูกค้า ปัจจุบันถือเป็นแหล่งรวมเฟอร์นิเจอร์ทุกชนิด ชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ตกแต่งบ้านที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

เดิมทีไม้ซุงจะได้จากทางภาคเหนือ แถวจังหวัดลำปาง กำแพงเพชร และจะขนส่งทางเรือล่องแม่น้ำเจ้าพระยามายังโรงเลื่อยในกรุงเทพฯ ในสมัยนั้นโรงเลื่อยจะตั้งอยู่รายตาบริเวณท่าน้ำตลอดสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ในช่วงวัดบางโพ เมื่อแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์แล้วก็จะส่งมาขายที่บางลำพู วัดสระเกศ สะพานดำ

ต่อมาการขนส่งทางบก ได้รับการพัฒนาจนกระทั่งกลายเป็นทางหลัก รถบรรทุกและรถพ่วงขนาดใหญ่ไม่สะดวกในการเข้ามาขนส่งไม้ในเมือง โรงเลื่อยต่างๆจึงได้ย้ายออกไปอยู่นอกเมืองแถวๆอำเภอบางไทร จังหวัดอยุธยา แต่ร้านขายผลิตภัณฑ์เครื่องเรือนจากไม้ก็ยังคงตั้งมั่นอยู่ในซอยประชานฤมิต รแห่งนี้

กระทั่งในปี พ.ศ.2540 ผู้อำนวยการสำนักงานเขตบางซื่อในสมัยนั้นได้ลงพื้นที่ แล้วเล็งเห็นว่าซอยนี้มีผลิตภัณฑ์เครื่องเรือนเครื่องใช้ที่น่าสนใจเป็น อย่างมาก ควรจะอนุรักษ์เอาไว้ จึงได้ร่วมปรึกษาหารือกับผู้ประกอบการและจัดทำซุ้มประตูไม้ขึ้น 2 ฝั่งทั้งทางเข้าและออกของซอย เพื่อให้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของชาวซอยประชานฤมิตร โดยได้รับการออกแบบจากอาจารย์สุดสาคร ชายเสม ศิลปินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านจิตรกรรม ประติมากรรม และอยู่อาศัยในละแวกประชาคมประชานฤมิตรแห่งนี้ด้วย

ซุ้มประตูไม้นี้ทำมาจากไม้ตะเคียนทอง จากโรงเลื่อยจังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งเป็นไม้ที่คัดเลือกมาแล้วว่าทนแดดทนฝนเป็นอย่างดี ลงรักของแท้ ตัวหนังสือทำจากทองคำเปลวแท้เช่นกัน สูงประมาณ 8 เมตร กว้างประมาณ 10 เมตร

หลังจากจัดสร้างซุ้มประตูไม้แล้วเสร็จในปี พ.ศ.2541 คณะกรรมการประชาคมประชานฤมิตรก็ได้ร่วมกับสำนักงานเขตบางซื่อตั้งชื่อซอยนี้ ว่า “ถนนสายไม้” และได้จัดงานถนนสายไม้ขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ.2542 เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับรู้ และเป็นการส่งเสริมอาชีพให้กับช่างไม้บนถนนสายไม้แห่งนี้

ตลอดทางของซอยประชานฤมิตร ประมาณ 1กิโลเมตรกว่าๆนั้น มีร้านผลิตภัณฑ์เครื่องไม้อยู่ประมาณเกือบ 200 ร้านเห็นจะได้ ซึ่งเท่าที่ฉันได้เดินสำรวจตรวจตราตลอดทั้งซอยก็เห็นว่าแทบจะทุกบ้านล้วน แล้วแต่ทำกิจการเกี่ยวกับไม้ทั้งสิ้น ทั้งไม้แบบไม้อัดยังไม่แปรรูป และไม้ที่แปรรูปแล้วเป็นเครื่องเรือนเครื่องใช้หลากหลายรูปแบบ เช่น เก้าอี้ ประตู ตู้ เตียง โต๊ะ หรือชิ้นเล็กๆก็เช่น ป้ายไม้ หิ้งพระ ตุ๊กตาไม้รูปสัตว์ต่างๆ แจกัน โคมไฟ เป็นต้น

แต่เมื่อย่านต่างๆเหล่านั้นเริ่มแน่น ไม่สามารถขยายพื้นที่ออกไปได้อีก ประกอบกับพื้นที่ใกล้ๆกับโรงเลื่อย ในสมัยนั้นเป็นพื้นที่ดินลูกรังน้ำท่วมขัง มีสวนทุเรียน สวนมะพร้าว สวนหมากมาก แต่ก็ยังมีพื้นที่โล่งว่างอยู่เยอะ ทั้งยังใกล้แห่งผลิตและสะดวกในการขนส่ง ร้านรวงต่างๆจึงได้อพยพออกมาอยู่ที่นี่ ซึ่งก็คือย่านซอยประชานฤมิตร ตรงข้ามวัดบางโพโอมาวาสในปัจจุบัน

ส่วนช่างไม้ต่างๆที่นี่ก็ได้รับสืบทอดวิชาความรู้ต่อๆกันมาตั้งแต่ ครั้งที่ชาวจีน ชาวไหหลำ ชาวเซี่ยงไฮ้ ได้เข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทยก็ได้นำเอาความรู้ในเรื่องของการแกะสลักลวด ลายงานฝีมือช่างไม้ที่ติดตัวมาประกอบอาชีพ และถ่ายทอดมายังคนไทย

ปัจจุบัน คนในชุมชนส่วนใหญ่มีเชื้อสายจีน ประกอบด้วยกลุ่มคนที่เป็นนักธุรกิจเจ้าของห้างร้าน ซึ่งอพยพมาอยู่ทีหลัง (เมื่อประมาณ 40 ปีที่แล้ว) และกลุ่มคนที่ตั้งรกรากมาแต่เดิม ซึ่งส่วนใหญ่มีรายได้น้อย ประกอบอาชีพรับจ้างและเกษตรกรรม ศูนย์รวมของคนในชุมชน คือ ศาลเจ้าแม่ทับทิม

ในปี 2539 นายสมศักดิ์ จันทวัฒนา รองผู้อํานวยการสํ านักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว(ตํ าแหน่งปัจจุบัน)ซึ่งดํ ารงตําแหน่งผู้อํานวยการเขตบางซื่อในขณะนั้น ได้นํานโยบายการจัดตั้งประชาคมของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผนวกกับนโยบายการท่องเที่ยว Amazing Thailand มาขยายแนวคิดร่วมกับ ชาวชุมชนในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ จึงได้ชักชวนกลุ่มพ่อค้ามาหารือร่วมกัน ซึ่งเห็นว่าจะสามารถเอื้อประโยชน์ต่อธุรกิจของตน จึงเริ่มประสานจากคนทํ าธุรกิจในซอยประชานฤมิตร ประมาณ 200 ครัวเรือน

กิจกรรมแรก เริ่มที่การสร้างซุ้มประตูไม้ทางเข้าทั้ง 2 ฝั่งซอย ด้วยงบประมาณ 1 ล้านบาท ด้วยการระดมทุนจากห้างร้าน ภายในชุมชน และได้รับจากสํานักงานเขตบางซื่อ ประชาคมมักมีการจัดการทุกอย่างด้วยตัวเอง แม้การตั้งประธานและคณะกรรมการครั้งแรกไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง แต่มาจากการช่วยกันทํางานตามความถนัดตามความสามารถของแต่ละคน โดยมีคุณวสันต์ ศรีตะรัชกุล เป็นประธานคนแรก (วาระ 2 ปี) ส่วนกิจกรรมของประชาคมที่สร้างชื่อให้คนทั่วไปได้รู้จักและจัดเป็นประเพณีสืบต่อมาทุกปี คือ การจัดงาน ถนนคนเดิน ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น ถนนคนเดินและสายไม้ และ ถนนสายไม้ ในการ จัดงานไม่เน้นที่ปริมาณการขาย แต่หวังผลในระยะยาวให้ความสําคัญกับการประชาสัมพันธ์ สร้างแนวร่วมคนทํ าอาชีพเดียวกันให้เป็นที่รู้จักเป็นเครือข่าย ทําให้ช่างไม้ได้เรียนรู้แลกเปลี่ยนประสบการณ์พัฒนาฝีมือให้มีคุณภาพและความพิถีพิถันมากขึ้น เป็นการเพิ่มมูลค่าให้แก่ผลิตภัณฑ์ ทั้งยังเป็นการสร้างสัมพันธภาพอันดีระหว่างผู้ค้าด้วยกัน และระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง
ศาลาทรงไทยไม้ถูกแกะสลักอย่างละเอียดประณีต
ประชาคม ประชานฤมิตร มีการจัดกิจกรรมที่เอื้อประโยชน์ต่อกัน เช่น การจัดทําแผนที่ชุมชน การจัดสวัสดิการแก่คนชรา การส่งเสริมอาชีพให้แก่กลุ่มสตรีว่างงาน การจัดหาพื้นที่ส่วนกลางทํ ากิจกรรมร่วมกัน กิจกรรมตํ ารวจบ้าน กิจกรรมวันเด็ก วันพ่อ วันแม่ นอกจากนี้คณะกรรมการชุมชนยังเป็นแกนกลางในการประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยว ข้อง และร่วมกับชาวบ้านในการดูแลและจัดการปัญหาทั่วไปภายในชุมชนอีกด้วย อาทิเช่น การจราจรภายในซอย อุบัติเหตุรถเฉี่ยวชน ท่อระบายนํ้ าอุดตัน ไฟไหม้ การทะเลาะเบาะแว้งต่างๆ เป็นต้น ดังภาพ

มิติการพัฒนาประชาคมประชานฤมิตร – ถนนสายไม้
องค์กรการพัฒนาในชุมชนได้แก่ คณะกรรมการชุมชน (มาจากการเลือกตั้ง มีกรรมการ 10 คน)และเป็นคณะทํ างานชุดเดียวกับคณะกรรมการประชาคม (โดยแต่งตั้งเพิ่มอีก 15 คน) มีคณะกรรมการรวม 25 คน ตลอดระยะเวลา 8 ปี โครงสร้างและสมาชิกของคณะกรรมการเกือบจะเป็นชุดเดียวกัน เพียงแต่สลับสับเปลี่ยนกันทําหน้าที่ มีคณะกรรมการประชาคมทั้งหมด 4 ชุด แต่ละชุดมีความเชื่อมโยงกันในแง่ของตัวบุคคล กล่าวคือ เป็นการสลับตํ าแหน่งในการทํ าหน้าที่ มีการเพิ่มชื่อหรือลาออกเพียงบางส่วนเท่านั้น ทำให้การประสานงานและการทํางานมีความต่อเนื่อง มีเอกภาพ และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
กิจกรรม หลักที่จัดสืบต่อกันมาทุกปี คือ งานถนนสายไม้ โดยมีนายสมศักดิ์ จันทวัฒนา และสํ านักงานเขตบางซื่อเป็นที่ปรึกษาและประสานงานที่สําคัญ (ภาพที่ 2) ประชาคมประชานฤมิตรไม่มีคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน เนื่องจากต้องมีการทํ างานร่วมกับอีกหลายชุมชนในเขตบางซื่อ ทางคณะกรรมการวิตกกังวลว่าอาจทํ าให้การทํางานไม่คล่องตัวและอาจเกิดปัญหาต่างๆ ตามมา ปัจจุบันประชาคมมีคณะกรรมการทํ างานเป็นชุดที่ 4 มีนายประสิทธิ์ สืบจากลา เป็นประธาน มีแนวคิดประสานทุกภาคส่วนของชุมชน สร้างการมีส่วนร่วมและความเสมอภาค เพื่อให้คณะกรรมการทํางานอย่างมีเอกภาพ
ในการดําเนินงานพัฒนา ของประชาคมประชานฤมิตร ด้านเศรษฐกิจโดยรวมมีกระบวนการและวิธีการดําเนินงาน ดังนี้

กระบวนการ
วิธีการ
1. การจุดประกายความคิด
  • ภาวะเศรษฐกิจตกตํ่า รายได้จากการขายสินค้าลดลง เกิดปัญหาในการประกอบธุรกิจผลิตภัณฑ์แปรรูปจากไม้ของชุมชน
  • กระแสนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยว สนับสนุนผลิตภัณฑ์ชุมชน และอนุรักษ์
  • ต้องการรักษาศิลปวัฒนธรรม
  • นโยบายของกรุงเทพมหานครที่สนับสนุนให้ทุกเขตจัดกิจกรรมถนนคนเดินขึ้น
  • นโยบายรัฐเกี่ยวกับการสนับสนุนการจัดตั้งประชาคม
  • เป็น ความท้าทายของทางสํานักงานเขตบางซื่อ โดย ผอ.สมศักดิ์ จันทวัฒนา (ในสมัยนั้น) ในการที่จะสร้างประชาคมต้นแบบ สร้างความร่วมมือประสานงานจัดกิจกรรมร่วมกัน เพื่อเป็นเอกลักษณ์ให้แก่ชุมชนและสืบทอดต่อไป
2. การระดมความร่วมมือ
  • มีการระดมทุนและวัสดุอุปกรณ์ของชาวชุมชน โดยผู้นํ าที่เป็นที่นับถือ ร่วมชี้แจงและระดมทุนในการร่วมจัดกิจกรรมถนนสายไม้
  • ประสานภาคธุรกิจส่วนต่างๆ ที่ประกอบธุรกิจที่เกื้อหนุนกันให้เข้ามาร่วมจัดงานกิจกรรมถนนสายไม้
  • ประสานภาครัฐหลายหน่วยงานให้ร่วมสนับสนุนการจัดกิจกรรมในรูปของงบประมาณและการประชาสัมพันธ์
  • ผู้ประกอบการในภาคธุรกิจต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกันให้ความสนใจเข้าร่วมกิจกรรม เกิดเครือข่ายธุรกิจที่แตกแขนงและมีความหลากหลายมากขึ้น
  • คณะกรรมการประสานชุมชนโดยการบอกกล่าวตามบ้านและผ่านสื่อสาธารณะของชุมชน (เสียงตามสาย)
  • สนับสนุนให้ผู้ประกอบการเข้าร่วมกิจกรรม รวมทั้งลูกจ้างและชาวบ้านในชุมชนเข้าร่วมอย่างกว้างขวาง
3. การขยายแนวร่วม
  • จากการมีส่วนร่วมของหลากหลายหน่วยงาน ช่วยให้การประชาสัมพันธ์ขยายวงกว้าง
  • สร้างความสัมพันธ์อันดีในชุมชนจากกิจกรรมที่ร่วมกันทํ า ทํ าให้คนในชุมชนมีอาชีพเสริมและมีรายได้เพิ่มขึ้น
  • สร้างเครือข่ายของคนร่วมอาชีพ และผู้ที่สนใจทั่วไป
  • ขยายฐานเครือข่ายลูกค้าให้มีความหลากหลายและกว้างขวางขึ้น
4. การรักษาความต่อเนื่อง
  • ประชาคมรู้สึกเป็นเจ้าของกิจกรรมถนนสายไม้ มีการจัดสืบทอดติดต่อกันทุกปี
  • สร้างชื่อเสียงในการเป็นแหล่งผลิตไม้แปรรูปที่สํ าคัญของประเทศ และจัดกิจกรรมสืบต่อมาจนกลายเป็นงานประจําปี
  • ช่าง มีการพัฒนาฝีมือด้านการแกะสลัก ซึ่งถือเป็นการเพิ่มมูลค่าและการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม เป็นสีสันและเพิ่มความหลากหลายให้กับงานในแต่ละปี
  • สร้างรายได้แก่ผู้ประกอบธุรกิจ และคนในชุมชน
  • มีการประชาสัมพันธ์อย่างจริงจังทุกปี
  • ยกระดับคุณภาพสินค้าและขยายตลาดสู่สากล
  • มีการรับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่ายในการจัดงาน เพื่อนําไปปรับใช้ในปีต่อๆ ไป
ประชาคมประชานฤมิตร มีภาคีความร่วมมือที่สําคัญ ได้แก่ ภาคธุรกิจเอกชน (ร้านค้าผลิตภัณฑ์แปรรูปไม้จากทั้งในและนอกชุมชน) การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หน่วยงานภาครัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสํานักงานเขตบางซื่อ ซึ่งนับได้ว่ามีบทบาทสําคัญที่สุด

ภาคี
บทบาท
1. สํ านักงานเขตบางซื่อ
  • ร่วมวางแผนงานและเป็นคณะทํางานจัดกิจกรรมถนนสายไม้
  • ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  • ร่วมประชาสัมพันธ์ชี้แจง และร่วมแก้ปัญหาการจัดการกิจกรรม
2. กรุงเทพมหานคร
  • สนับสนุนงบประมาณ และการประชาสัมพันธ์
3. สถานีตํ ารวจนครบาลเตาปูน
  • ให้ความรู้ อบรม และประสานงานกับตํารวจชุมชน
  • ประสานงานและอํานวยความสะดวก
4. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
  • สนับสนุนงบประมาณการจัดกิจกรรมถนนสายไม้
  • ประชาสัมพันธ์การจัดกิจกรรมถนนสายไม้
5. ศาลเจ้าแม่ทับทิม
  • เอื้อเฟื้อสถานที่สํ าหรับจัดกิจกรรมชุมชน
  • เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวชุมชน
6. สภาวัฒนธรรมเขตบางซื่อ
  • สนับสนุนเสริมกิจกรรมในชุมชน
  • ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสํ าหรับกิจกรรมในชุมชน
7. กรมศิลปากร
  • ให้ความรู้ด้านศิลปะการแกะสลักลวดลายไม้
  • ร่วมเป็นคณะทํางานจัดกิจกรรมถนนสายไม้
8. บริษัทห้างร้านเอกชน
  • สนับสนุนงบประมาณในการจัดกิจกรรมถนนสายไม้
9. ชุมชนใกล้เคียง
  • เข้าร่วมกิจกรรมและเป็นเครือข่ายธุรกิจผลิตภัณฑ์แปรรูปจากไม้

คัดลอกข้อมูลบางส่วนจาก  สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (สสท.)
http://www.tei.or.th/Projects/pdf_gap/bma_community_5.pdf

0 ความคิดเห็น:

Copyright © 2013 woodworking in Thai and Blogger Templates - Anime OST.