ถนนสายไม้ ซอยประชานฤมิตร บางโพ

ถ้าเอ่ยถึง ถนนสายไม้ ซอยประชานฤมิตร Thanon Saimai เขตบางซื่อ สำหรับคนที่มีใจรักงานไม้ และตกแต่งบ้าน ศูนย์รวมงานเฟอร์นิเจอร์งานศิลปะ จะเป็นที่รู้จักกันดี เพราะที่นี่เปรียบเสมือนศูนย์รวมเรื่องไม้ตั้งแต่ไม้แผ่นธรรมดาที่ใช้สร้าง บ้านไปจนถึงงานเฟอร์นิเจอร์ไม้ และมีงานไม้แกะสลัก จากช่างไม้แกะสลักที่มีความชำนาญ ได้ขยายถนนสายไม้ ไปสู่ซอยไสวสุวรรณ หรือซอยกรุงเทพฯนนทบุรี 13 ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นถนนสายไม้เส้นที่ 2 

งานหัตกรรมฝีมือภายในประเทศและที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ ผู้คนรู้จักถนนสายนี ถนนสายไม้ บางโพ ในด้านอุปกรณ์ตกแต่งบ้าน ของตกแต่งบ้าน ซึ่งใครที่ต้องการจะสร้างบ้านด้วยไม้ก็ต้องนึกถึงที่นี่อยู่แล้ว ในปี พ.ศ. 2540 ผู้อำนวยการเขตบางซื่อในสมัยนั้นได้ลงพื้นที่แล้วเล็งเห็นว่าซอยนี้มี ผลิตภัณฑ์เครื่องเรือนเครื่องใช้ที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก ควรอนุรักษ์เอาไว้จึงได้ร่วมปรึกษาหารือกับผู้ประกอบการและจัดทำซุ้มประตู ไม้ขึ้น 2 ฝั่งทั้งทางเข้าและทางออกของซอย เพื่อให้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของซอยประชานฤมิตร โดยได้รับการออกแบบจากอาจารย์สุดสาคร ชายเสม ศิลปินอิสระผู้ทรงคุณวุฒิด้านจิตกรรม ประติมากรรม

จุดซุ้มประตูไม้นี้ทำมาจากไม้ตะเคียนทอง จากโรงเลื่อยจังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งเป็นไม้ที่คัดเลือกมาแล้วว่าทนแดดทนฝนเป็นอย่างดี ลงรักของแท้ ตัวหนังสือทำจากทองคำเปลวแท้เช่นกันสูงประมาณ 8 เมตร กว้างประมาณ 10 เมตร

ปัจจุบันสองฟากฝั่งของซอยประชานฤมิตร (ซอยประชาราษฎร์ 24 ถนนประชาราษฎ์สาย 1) ระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร มีร้านจำหน่ายเครื่องเรือนเฟอร์นิเจอร์ไม้แกะสลักตั้งแต่ขนาดใหญ่ไปจนถึงของ ตกแต่งบ้านชิ้นเล็กๆ กว่า 200 ร้านได้เปิดตัวให้เป็นที่รู้จักของประชาชนมากขึ้น ด้วยการรวมตัวของกลุ่มประชาคมประชานฤมิตร จัดงานถนนสายไม้ ประชานฤมิตรขึ้นเมื่อวันที่ 30-31 มกราคม 2542 เป็นครั้งแรกโดยได้รับความร่วมมือสนับสนุนจากสำนักงานเขตบางซื่อ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และสถานีตำรวจนครบาลเตาปูน การจัดงานครั้งนั้นประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากจึงมีการจัดงาน ถนนสายไม้ ศูนย์กลางเครื่องเรือนและอุปกรณ์ตกแต่งบ้านจากไม้ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย


ถนนสายไม้-ซอยประชานฤมิตร หรือที่หลายคนเรียก ซอยโรงไม้ บางโพ  ถนนสายไม้ บางโพ เริ่มจากซอย ประชาราษฎร์ 24 เหตุผล ที่ซอยนี้เป็นแหล่งรวมของเฟอร์นิเจอร์ไม้ มีข้อมูลเล่าต่อกันมาแต่เดิมพื้นที่แถบบางโพ เป็นที่ราบลุ่มริมแม่น้ำเจ้าพระยาเหมาะแก่การเพาะปลูก บริเวณนี้จึงขนัดไปด้วยสวนผลไม้ และมีชนต่างถิ่นหลายกลุ่ม ทั้งไทย จีน ญวน เข้ามาอาศัยตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 โดยชาวจีน ส่วนหนึ่งย้ายจากย่านวัดสระเกศ สะพานขาว บางลำพู ได้นำอาชีพเกี่ยวกับการทำเฟอร์นิเจอร์ และงานฝีมือช่างไม้ติดตัวมาด้วยประกอบกับพื้นที่ชุมชนอยู่ใกล้แม่น้ำเจ้า พระยา ซึ่งเป็นเส้นทางล่องแพซุง แพไม้ จากเหนือสู่เมืองกรุง อีกทั้งมีโรงเลื่อยตั้งอยู่รายตาบริเวณท่าน้ำ จึงเป็นธรรมดาเมื่อมีแหล่งวัตถุดิบและไม้แปรรูปอยู่ใกล้ๆ ชาวชุมชนจึงยึดอาชีพแกะสลักไม้ทำเฟอร์นิเจอร์ และกลายเป็นกลุ่มก้อนที่ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ย่านนี้จึงเป็นแหล่งรวมร้านค้าเฟอร์นิเจอร์ และช่างไม้ฝีมือดีมากมาย
Thaiwoodstreet ถนนสายไม้
  • ถนนสายไม้ เส้นที่ 1 เริ่มจากซอย ประชาราษฎร์ 24 ด้านหน้าซอย ถึงต้นซอย ประชานฤมิตร (กรุงเทพฯ นนทบุรี 5)
  • ถนนสายไม้ เส้นที่ 2 เริ่มจากซอย ไสวสุวรรณ (กรุงเทพฯ นนทบุรี 13) ถึงต้นซอย ประชาราษฏร์ 28
ศูนย์รวมเครื่องเรือนเฟอร์นิเจอร์ และ งานแกะสลักไม้ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เป็นแหล่งรวมผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องเรือน เฟอร์นิเจอร์และงานแกะสลักไม้ และอุปกรณ์ตกแต่งบ้าน ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เป็นที่รู้จักของประชาชน ชาวไทยและชาวต่างประเทศ ในนาม ถนนสายไม้ Thai woodstreet ซึ่งในปัจจุบันได้ขยายอาณาบริเวณกว้างขึ้นไปยัง ซอยไสวสุวรรณ ถนนสายไม้ที่2 และบริเวณรอบข้าง

ความเป็นมาของชุมชนประชานฤมิตร
ชุมชนประชานฤมิตร เป็นชุมชนดั้งเดิมของเขตบางซื่อซึ่งเป็นซอยเชื่อมระหว่างถนนประชาราษฎร์สาย1 กับถนนกรุงเทพฯนนทบุรี สภาพเดิมเป็นสวนและค่อยๆเปลี่ยนสภาพสวนจนกระทั่งแปรสภาพเป็นเรือนแถวไม้ และตึกแถว อาคารพาณิชย์หนาแน่นในปัจจุบัน อาชีพของชุมชนจากเดิมที่เคยมีอาชีพทำสวนค่อยเปลี่ยนเป็นการทำเครื่องเรือน และงานไม้แกะสลักต่างๆ จนเป็นแหล่งอุตสาหกรรมเครื่องเรือนไม้ และงานไม้แกะสลักต่างๆขนาดใหญ่ การประกอบทำอาชีพเครื่องเรือน แลังานแกะสลักไม้ดังกล่าว มีการทำเป็นยุตสาหกรรมในครัวเรือนและได้สืบทอดต่อๆกันมา และขยายกิจการเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆจนกระทั่งในปัจจุบันมีมากกว่า 200 ราย โดยทำเครื่องเรือนประเภทต่างๆ อาทิเช่น โต๊ะ เก้าืั้อี้ ตู้ เตียง ชั้นวางของ ลูกกลีง เชิงชายฉลุลายไม้สวยงาม โดยเฉพาะการแกะสลักไม้ซึ่งเป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่น นอกจากนั้นยังมีอุปกรณ์ตกแต่งบ้านอีกจำนวนมาก การจำหน่ายไม้ประเภทต่างๆ อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ ไม้คิ้ว บานประตู หน้าต่าง กระจกแกะลาย-เพ้นท์สี

0 ความคิดเห็น:

Copyright © 2013 woodworking in Thai and Blogger Templates - Anime OST.