จรรยาบรรณ กับงานเฟอร์นิเจอร์ไม้

หลักจริยธรรม เป็นหัวใจสำคัญของการประกอบอาชีพทุกแขนงสาขาในวิชาชีพ หลักจริยธรรมกำหนดให้เรามุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจด้วยวิธีการที่ซื่อสัตย์ สุจริตมากที่สุด เพื่อเสริมสร้างความรู้ในเรื่องหลักจริยธรรม และปลูกฝังหลักการเหล่านี้ไว้เพื่อให้ทุกคนยึดถือไว้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ งานต่อไป การปฏิบัติตัวอย่างถูกต้องตามหลักจริยธรรมมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อชื่อเสียง และความสำเร็จที่ยั่งยืนในอนาคตของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมไม้เฟอร์นิเจอร์ และเครื่องเรือนการร่วมมือกันและประวัติการทำงานที่ดี
  • 1. มีวินัย ความรับผิดชอบการส่งมอบงานที่มอบหมายตามเวลาที่กำหนด
  • 2. ประกอบวิชาชีพด้วยความซื่อสัตย์สุจริตตามหลักปฏิบัติและวิชาการ และอยู่ภายใต้บทบัญญัติแห่งกฎหมาย
  • 3. ตระหนักถึงจรรยาบรรณ เคารพครูบาอาจารย์
  • 4. รับฟังการแสดงความคิดเห็นของลูกค้า ผู้อุปการะคุณ และคำชี้แนะ
  • 5. ดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจโดยไม่ใช้วิธีการผูกขาด หรือแข่งขันทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งรวมไปถึงการรับหรือให้สินบนและการคอรัปชั่น
  • 6. เชื่อมั่นในการแข่งขันที่เป็นธรรมและมุ่งมั่นในการทำธุรกิจอย่างซื่อสัตย์ และตรงไปตรงมา
  • 7. ไม่แสวงหาข้อมูลของคู่แข่งขันด้วยวิธีการที่ไม่ชอบธรรม
  • 8. ห้ามช่างทำงานเฟอร์นิเจอร์ติดสิ่งเสพติด หรือของมึนเมาทุกชนิด ทำให้เสียคน เสียงาน ภูมิปัญญาถือว่าบุคคลที่ติดสิ่งเสพติดเป็นบุคคลที่ห้ามใจตัวเองไม่ได้
    ระงับอารมณ์ไม่ได้ ฉะนั้นจึงห้ามช่างไม้เฟอร์นิเจอร์ติดสิ่งเสพติด ปัจจุบันบุหรี่ก็ถือเป็นสิ่งเสพติดที่ทำความรำคาญอยู่ไม่น้อยแต่กลับเป็นที่ นิยมกันมากขึ้น
  • 9. การคิด ตีราคา รับสั่งทำ รับซ่อมแซมปรับปรุง รับจ้างทำของ อย่างเป็นธรรม ราคาสมเหตุสมผล ไม่เอาเปรียบปรับขึ้นราคาโดยเกินเหตุ ราคากลางซ่อมแซมที่อยู่อาศัย
  • 10. ไม่ยอมรับการข่มเหงรังแกหรือการล่วงละเมิดใดๆ ก็ตามในที่ทำงานไม่ว่าจะในกรณีใดทั้งสิ้น
  • 11. ส่งเสริมความหลากหลายและความเสมอภาคในหมู่พนักงาน และเปิดโอกาสให้พนักงาน ช่างทุกฝ่ายได้พัฒนาความสามารถในการทำงานอย่างเท่าเทียมกันโดยไม่มีการเลือก ปฏิบัติ
  • 12. ห้ามช่างรับงานเฟอร์นิเจอร์ไม้พูดว่า “ไม่ทัน” “ไม่ได้” แต่จะต้องอธิบายให้ลูกค้าเข้าใจเกี่ยวกับขบวนการทำงานเฟอร์นิเจอร์ ว่ามีขั้นตอนการทำงานอย่างไร และต้องใช้ทักษะฝีมือและการแก้ปัญหาในการรับงานเฟอร์นิเจอร์ไม้นอกแบบ จำเป็นจะต้องมีการพัฒนารูปแบบผีมืออย่างต่อเนื่อง บางงานจำเป็นต้องรอ หรือใช้ระยะเวลานานในขั้นตอนอบไม้ เป็นต้น ถ้าไม่อธิบายอาจมีปัญหา เพราะลูกค้าบางคนใจร้อน
  • 13. อย่าให้มีปัญหาการนัดหมายกับลูกค้า เพราะการทำเฟอร์นิเจอร์จะต้องมีการรวมหลายสาขาอาชีพ ช่างไม้ ช่างไม้แกะสลัก ช่างทำสี ช่างทำกระจก ฝ่ายออกแบบผลิตภัณฑ์ ฝ่ายขนส่ง ความล่าช้านิดเดียวปัญหาจะเป็นลูกโซ่
  • 14. มีความรับผิดชอบต่องานที่ทำ หากวัสดุที่นำมาใช้ในการผลิตเฟอร์นิเจอร์ไม่พร้อมใช้งานต้องปรับปรุงแก้ไข ก่อนเสมอ เช่น การอบไม้ ไม้ชื้น ไม้แตก ไม้บิด
  • 15. กรณีรับงานเฟอร์นิเจอร์เพื่อทำการซ่อมบางส่วน ห้ามเพิ่มเติม ตกแต่งแก้ไขโดยอำเภอใจโดยไม่ปรึกษาเจ้าของเสียก่อน มิฉะนั้นอาจจะทำลายงานศิลปอันเป็นภูมิปัญญาแต่ดั้งเดิม
  • 16. ห้ามแสดงอาการ หรือออกเสียงอึกทึกระหว่างการทำงาน เพราะช่างไม้เฟอร์นิเจอร์ต้องใช้สมาธิในการทำงานอยู่กับเครื่องจักร ต้องใช้ความอดทน และเสี่ยงต่ออันตรายตลอดเวลา เพราะต้องอยู่กับเครื่องมือมีคม และเครื่องจักรกลที่มีความอันตรายสูง
  • 17. ห้ามบ่น หรือด่าลูกค้าเด็ดขาด ช่างไม้ทำเฟอร์นิเจอร์จำเป็นต้องสัมพันธ์กับผู้คนมากมายทุกระดับชั้น จึงจำเป็นต้องแยกแยะสภาพปัญหาของลูกค้าระงับอารมณ์จากการที่ลูกค้าด่าว่า ต่าง ๆ นานา รับฟังคำกล่าวหาของลูกค้า พยายามหาคำตอบและถอดบทเรียนปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างชาญฉลาด
  • 18. ห้ามกิน หรือดื่มในขณะที่กำลังทำงาน เพราะช่างจะต้องควบคุมสมาธิ ควบคุมอารมณ์ สมาธิให้จดจ่อกับงาน
  • 19. ทุกคนมีความรับผิดชอบที่จะต้องเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลให้ปลอดภัยและเคารพสิทธิความเป็นส่วนตัวของแต่ละบุคคล
  • 20. เปิดเผยข้อมูลรายละเอียดของลูกค้าตลอดจนสัญญาหรือการเจรจาตกลงกับ ซัพพลายเออร์บางรายให้แก่บริษัทคู่แข่งขันหรือลูกค้าหรือ ซัพพลายเออร์อื่นๆ
  • 21. สนทนากับบริษัทคู่แข่งขันของเราในเรื่องราคาหรือการประกวดราคาที่กำลัง ดำเนินอยู่ ตลอดจนเงื่อนไขข้อตกลงเกี่ยวกับการขาย ส่วนแบ่งการตลาด ต้นทุนหรือกำไร
  • 22. ไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลให้แก่ผู้อื่นภายในบริษัท หรือแก่บุคคลภายนอกโดยไม่มีเหตุผลสมควรทางธุรกิจ หรือไม่ได้รับการอนุญาตอย่างถูกต้องเสียก่อน ยกเว้นกรณีที่กฎหมายบังคับไว้ หรือพยายามเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลที่เราไม่ได้รับมอบหมาย หรือไม่มีเหตุผล
  • 23. มีความรับผิดชอบต่อสังคม และไม่ก่อให้เกิดความเสื่อมเสียในจริยธรรมและวัฒนธรรมอันดีงาม
ผมเชื่อว่าท่านผู้อ่านสามารถตอบได้ว่าอะไรควร อะไรไม่ควร เราจะเห็นว่าจรรยาบรรณไม่ได้ขึ้นอยู่กับพฤติกรรม แต่ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมนั้นสัมพันธ์หรือเหมาะสมกับสถานะของบุคคลคนนั้นหรือ ไม่ ดังนั้น จรรยาบรรณไม่ต้องเขียน จรรยาบรรณไม่ต้องเซ็นรับ แต่ทำอย่างไรให้คนคิดเป็น วิเคราะห์ได้ ยับยั้งชั่งใจต่อการกระทำที่มันขัดต่อความดีชั่ว ถูกต้องเหมาะสมเท่านั้นเอง

0 ความคิดเห็น:

Copyright © 2013 woodworking in Thai and Blogger Templates - Anime OST.