เส้นทางของถ่านไม้

source: รายการกบนอกกะลา ถ้าจะให้คนยุคใหม่หันมาจุดไฟเตาด้วยถ่านไม้คงเป็นเรื่องหาดูได้ยาก ผู้คนที่มีอาชีพเกี่ยวกับการทำอาหาร เช่นแม่ค้าส้มตำไก่ย่าง พ่อค้าขายข้าวโพดต้ม และบรรดาร้านอาหารเกี่ยวกับสรรพอาหารปิ้ง ย่างทั้งหลาย จึงอาจพูดได้ว่า ถ่านไม้อยู่คู่ครัวไทยมานานแล้ว

ของดำๆ ที่มีเสน่ห์ร้อนแรงแบบโบราณอย่างถ่านไม้กำลังถูกแทนที่ด้วยเตาแก๊สและเตา ไฟฟ้า ซึ่งให้ความสะดวกสบายมากกว่า แต่ใครจะรู้บ้างว่าปัจจุบันยังมีผู้คนอีกหลากหลายสาขาอาชีพที่ยังพึ่งพาถ่าน ไม้ โดยเฉพาะพ่อค้าแม่ขายสารพันปิ้งย่าง ไม่ว่าจะเป็น ร้านไก่ย่างส้มตำ ปลาหมึกย่าง ข้าวโพดต้ม หมูสะเต๊ะ… ด้วยเพราะอาหารที่ทำด้วยเตาถ่านจะมีกลิ่นควันหอมเย้ายวน และช่วยให้อาหารร้อนระอุสุกนุ่มไปถึงเนื้อข้างในอันเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของ การปรุงอาหารไทย…

เรียกได้ว่าถ่านไม้เป็นสิ่งที่อยู่คู่ครัวไทยมาช้านาน และจากการติดตามแม่ค้าขายถ่านตระเวนไปส่งถ่านตามตรอกซอกซอยก็ได้เห็นว่า จำนวนของคนที่ใช้ถ่านไม้ ที่จริงแล้วไม่ได้มีน้อยอย่างที่คิดเลย อีกทั้งบรรดาคนขายถ่านต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าความต้องการของคนใช้ถ่าน กลับมีมากขึ้น ถ่านไม้ต่างหากที่มีปริมาณน้อยลง ด้วยไม้หลายๆ ชนิดมีราคาแพงขึ้น หายากขึ้น… แต่ถึงอย่างนั้นแล้วถ่านไม้ก็ไม่เคยขาดมือเลยในแต่ละวัน เพราะเมื่อตามไปดูโกดังเก็บตุนถ่านไม้ของแม่ค้าขายถ่านเพียงรายเดียว ก็ต้องตกตะลึงกับภูเขาถ่านสีดำที่กองอยู่ตรงหน้ากองโตๆ ซึ่งพี่เขาเล่าว่าจะมีพ่อค้ารับซื้อถ่านไม้
ยางพารารายใหญ่มาส่งจากจังหวัด ตรัง และจากคำบอกเล่านี้เมื่อเราลองมาคิดคำนวณดูแล้วจึงได้รู้ว่าแหล่งขายส่งถ่าน ของแม่ค้าเพียงรายเดียวมีถ่านเก็บตุนไว้เพื่อแบ่งขายมากมายถึงเดือนละ 42 ตัน… และเพื่อไขข้อข้องใจว่าทำไมจึงมีไม้มาเผาถ่านได้มากมายขนาดนี้ จริงหรือไม่ที่เราต้องตัดไม้ทำลายป่าเพื่อการเผาถ่าน และกว่าจะได้ถ่านสักก้อนต้องทำกันอย่างไร

เราจึงออกเดินทางไปบนเส้นทางเปื้อนถ่านสีดำๆ มุ่งหน้าลงไปทางใต้… ที่นั่นทำให้เราได้เห็นว่าไม้กลายเป็นถ่านได้อย่างไร ด้วยฝีมือของลูกอีสานที่เข้ามาถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นในการเผาถ่านด้วยเตา ลาน ซึ่งแต่ก่อนทางใต้ไม่ได้เผาถ่านกันบนลานดินอย่างสมัยนี้ และไม้ที่ใช้จากเดิมเป็นไม้โกงกางปัจจุบันก็เป็นส่วนที่เรียกว่าปีกไม้ ยางพาราที่เหลือใช้จากโรงเลื่อย วิธีการเผาถ่านไม้ยางพาราก็ง่ายแสนง่าย เพียงแค่กั้นไม้ให้เป็นเตาบนลานดิน แล้วนำขี้เลื่อยขึ้นกลบ จากนั้นก็เจาะช่องข้างๆ เตาแล้วจุดไฟเผาด้วยถ่านไม้นี่เอง เรียกได้ว่าใช้ถ่านเผาถ่านกันเลยทีเดียว … แต่ระหว่างที่ต้องรอให้ไม้กลายเป็นถ่านอีก 14 วัน เราจึงติดตามเส้นทางถ่านไม้ยางพาราย้อนกลับไปจนไปถึงโรงเลื่อย ที่ทำให้เราได้รู้ว่าปีกไม้ที่จริงแล้วก็คือเศษไม้ติดเปลือกที่เหลือจากการ เลื่อยไม้เพื่อส่งไปผลิตเฟอร์นิเจอร์ ซึ่งเป็นไม้ที่ไม่ได้ขนาดตามต้องการนั่นเอง แต่การเดินทางของเรายังไม่จบเพียงเท่านั้น เรายังได้มีโอกาสไปที่สวนยางหมดสภาพ ซึ่งเป็นต้นทางของไม้ที่โรงเลื่อยและกลายเป็นปีกไม้สำหรับคนเผาถ่านในที่สุด จากการพูดคุยกับผู้รับเหมาสวนยางจึงได้รู้ว่าไม้ยางที่มีอายุประมาณ 25 ปีจะไม่ให้น้ำยางอีกต่อไป จะถูกโค่นเพื่อขายเนื้อไม้ และปลูกขึ้นใหม่ทดแทนต่อไป จึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไมเราจึงมีไม้ยางพาราใช้ตลอดทั้งปี เนื่องจากมีการปลูกใหม่ขึ้นเรื่อยๆ และถ่านไม้ที่เราใช้ก็เป็นการใช้ประโยชน์จากไม้ยางที่เหลือใช้แล้วอีกต่าง หากด้วย สำหรับถ่านไม้ยยางพาราเป็นเพียงหนึ่งในบรรดาถ่านไม้หลากหลายชนิดเท่านั้น แต่ถ้าจะพูดถึงถ่านไม้คุณภาพดีที่มีคุณสมบัติติดไฟทนนาน ให้เปลวไฟร้อนแรง มีควันและขี้เถ้าน้อย หลายคนให้ความเห็นตรงกันว่าสุดยอดถ่านไม้ต้องเป็นถ่านไม้โกงกาง แต่ใครหลายๆ คนอาจสงสัยว่าเมื่อมีการประกาศปิดป่าชายเลนแล้ว จะยังมีการตัดไม้โกงกางเพื่อการเผาถ่านได้อย่างไร เราจึงต้องออกเดินทางกันอีกครั้ง ซึ่งแม่ค้าขายถ่านผู้มากประสบการณ์ในวงการค้าขายมากกว่า 10 ปี แนะนำกับเราว่าทางจังหวัดสมุทรสงครามยังมีแหล่งผลิตถ่านไม้โกงกางอยู่ เราจึงไม่รอช้าไปตามหาโรงเผาถ่านที่จังหวัดสมุทรสงคราม และที่นี่ก็ไม่ทำให้เราผิดหวัง เพราะนอกจากเตาอิฐเผาถ่านรูปทรงครึ่งวงกลมที่สะกดสายตาเราเอาไว้ได้แล้ว ที่นี่ยังรายล้อมไปด้วยป่าไม้โกงกางที่อุดมสมบูรณ์มากแห่งหนึ่ง แต่เป็นป่าที่คนเผาถ่านปลูกขึ้นเอง โดยจำลองสภาพธรรมชาติให้น้ำทะเลท่วมถึง ที่เรียกว่า เซาะป่าที่นี่จึงไม่ใช่พื้นที่ติดทะเลเหมือนกับป่าชายเลนตามธรรมชาติในที่ อื่นๆ เพราะฉะนั้นเส้นทางของถ่านไม้โกงกางเส้นนี้จึงไขข้อข้องใจได้อย่างกระจ่าง ว่า แท้จริงแล้วชีวิตของคนเผาถ่านไม้โกงกางที่สมุทรสงคราม นอกจากจะใช้ประโยชน์จากป่าชายเลนแล้ว ยังถือเป็นอาชีพที่สร้างป่าขึ้นมาด้วย เพราะทุกๆ ปีจะมีการปลูกป่าโกงกางทดแทนแปลงป่าที่ตัดไม้เอาไปเผาถ่าน

โดยในช่วงปลายฝนต้นหนาวจะมีการเก็บฝักโกงกางไปปลูกลงในแปลงป่าที่เตรียมไว้ เพื่อรอให้ฝักโกงกางเหล่านี้เติบโตจนเป็นไม้แกร่งในอีก 12 ปีข้างหน้า จึงจะตัดไม้ไปใช้งานได้ ส่วนแปลงที่มีไม้โตเต็มที่แล้วก็จะถูกตัดเป็นท่อนๆ และลำเลียงลงเรือกลับมาที่โรงเผาถ่าน ส่วนขั้นตอนในการเผานั้นก็ไม่ได้ใช้เครื่องมือหรือเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้า ช่วยแต่อย่างใด แต่เป็นภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมาและเป็นประสบการณ์ที่สั่งสมมาเฉพาะบุคคล อย่างเช่นการสังเกตว่าไม้กลายเป็นถ่านได้ที่หรือยัง ก็จะใช้วิธีการดูลักษณะของควันและดมกลิ่นของยางไม้ที่ออกมาจากปล่องเตาเผา ถ่าน การควบคุมอุณหภูมิความร้อนในการเผาก็ใช้ความชำนาญของคนเผาถ่านล้วนๆ จากนั้นอีก 14 วันจึงจะได้เห็นหน้าตาของไม้ที่กลายเป็นถ่านสีดำๆ ถูกลำเลียงลงเรือลำเก่าแก่ของครอบครัวคนเผาถ่าน ล่องไปขายถึงกรุงเทพฯ ที่บริเวณตลาดน้อย แถวๆ เยาวราช ซึ่งเมื่อเราได้ติดตามอย่างใกล้ชิด พบว่าถ่านไม้โกงกางนี้ไม่เพียงเป็นที่นิยมกันในวงการปิ้งย่างบ้านเราเท่า นั้น แต่ด้วยคุณภาพที่ไม่เป็นรองใครจึงทำให้มีการซื้อขายถ่านโกงกางกันไกลไปจนถึง ต่างประเทศ

ถ่านไม้ก้อนดำๆ จึงมีค่ามากกว่าที่ใครหลายคนเอาวางดับกลิ่นในห้องน้ำเท่านั้น แต่ยังเป็นผลิตภัณฑ์ที่สร้างรายได้ให้กับอีกหลายๆ ชีวิตที่ผูกพันอยู่กับถ่านไม้ ที่สำคัญจากวงจรการผลิตถ่านไม้ที่เราได้เห็นทั้งการเผาถ่านไม้ยางพาราและ ถ่านไม้โกงกางก็ทำให้ได้หยุดคิดว่าที่จริงแล้วถ่านไม้ยังเป็นแหล่งเชื้อ เพลิงที่ให้พลังงานได้ไม่มีวันหมด เพราะตราบใดที่เรายังปลูกไม้ทดแทน เราก็จะมีไม้ไว้ใช้ประโยชน์… ถ่านไม้จึงไม่ได้เป็นเพียงเรื่องของของดำๆ ที่ดูเลอะๆ เท่านั้น แต่ถ่านไม้ยังเป็นพลังงานหมุนเวียนที่หลายคนอาจไม่เคยฉุกคิด

0 ความคิดเห็น:

Copyright © 2013 woodworking in Thai and Blogger Templates - Anime OST.