ระบบการวัดในงานไม้


ระบบการวัด ในงานไม้

Measurment Tool  
การวัด ในงานไม้ เมื่อเริ่มแรกมนุษย์ทำการวัดโดยใช้ส่วนต่างๆ ของร่างงกายหรือวัตถุธรรมชาติอื่นๆ โดยมีหน่วยการวัด เช่น 1 ศอก คือระยะทางจากข้อศอกถึงปลายนิ้ว แต่งเนื่องจากระยะหนึ่ง 1 ศอกของแต่ละคนไม่เท่ากัน จึงไม่เกิดความแน่นอนในการวัด หรือ 1 ฟุต ใช้เท้าของพระมหากษัตริย์วัด ซึ่งก็อาจจะได้ความยาวที่ผิดไป ต่อมาหน่วยการวัดเริ่มมีมาตรฐานขึ้นโดยชาวอียิปต์ได้กำหนดความยาว 1 ศอก ของพระมหากษัตริย์โดยวัดจากหินแกรนิตที่เรียงกัน ส่วน 1 ศอก อื่นๆ ใช้กิ่งไม้วัด แล้วนำมาเปรียบเทียบกัน จนได้ความยาวเหมือนจริงมากที่สุด และกลายเป็นระบบการวัดของโลก ในมาตรฐานอังกฤษอังกฤษมีหน่วยการวัดเป็นฟุต (Foot) และปอนด์ (Pound)  

ในปี 2243 นักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศสชื่อนโปเลียน ได้คิดคิดค้นระบบการวัดใหม่ เรียกว่า “ระบบเมตริก” จากพื้นฐานของความเชื่อที่ได้จากขนาดของโลก และได้มีการพัฒนาปรับปรุงได้ดีขึ้น ในปัจจุบันเรียกระบบเมตริกว่า ระบบ SI ทุกวันนี้ประเทศส่วนใหญ่นิยมใช้ระบบเมตริก ดังนั้นในการศึกษาระบบการวัดจึงควรได้มีการศึกษาทั้ง 2 ระบบ เพื่อการเปรียบเทียบเช่น
  • เมตร (Metre) เป็นหน่วยของความยาว ที่ยาวกว่า 1 หลา (Yard) เล็กน้อย (ประมาณ 39.37 นิ้ว)
  • กิโลกรัม (Kilogram) เป็นหน่วยวัดน้ำหนัก (Mass) มากกว่า 2 ปอนด์เล็กน้อย (ค่าจริง 2.2 ปอนด์)
  • ลิตร (Litre) เป็นหน่วยที่ใช้วัดความจุของเหลว หรือปริมาตรมากกว่า 1 ควอท (Quart) เล็กน้อย (ประมาณ 1,06 ควอท)
  • องศา เซลเซียส (Degree celsius) เป็นหน่วยวัดอุณหภูมิ บนมาตราส่วนนี้ มีจุดเยือกแข็งอยู่ที่ 0 C และจุดเดือดอยู่ที่ 100 C ส่วนองศาฟาเรนไฮต์ (Degree fahrenheit) ทำเป็นองศาเซลเซียสได้โดยลบออก 32F และหารด้วย 1.8
ระบบเมตรริกเป็นระบบทศนิยม เป็นหน่วยพื้นฐานของผลคูณด้วย 10 การบ่งบอกหน่วยใหญ่หรือเล็ก จะ เพิ่มคำนำหน้า เช่น กิโล เซนติ และมิลลิ มีหน่วยของคำว่าเมตร ตัวอย่างเช่น กิโลเมตร คือ 1000 ครั้งของเมตร เซนติเมตร คือ 100 ครั้งเล็กกว่าเมตร (1 ใน 100 ของเมตร) และมิลลิเมตรคือ 1000 ครั้งเล็กกว่าเมตร (1 ใน 1000 ของเมตร) คำทั้งสามนี้มักใช้ร่วมกันอยู่เสมอในหน่วยการวัด คำนำว่า และชื่อของหน่วย สามารถทำให้สั้นลงโดยใช้สัญลักษณ์
Prefix Symbol Meaning
Giga G one billion times
Mega M one million times
Kilo K one thousand times
Centi C one-hundredth of
Milli M one-thousandth of
Micro U one-millionth of
Nano N one-billionth of

Note: Some prefixes are capitalized so that they won’t be confused with metric units. For example, but g =gram  
การเปรียบเทียบระบบอังกฤษและระบบเมตริก ในงานไม้ระบบการวัดระยะในระบบอังกฤษจะเป็น”,12” (ฟุต) และ 36” (หลา) ส่วนระบบเมตริกใช้เป็น 150 มม. (15 ซม.), 300 มม. (30 ซม.) และ 1 ม. ดังรูปที่ 3.5 การเปรียบเทียบจากรูปภาพพบว่าความยาว 12” จะยาวกว่า 300 มม. เล็กน้อย การแบ่งมาตราส่วนใน 1 นิ้วของอังกฤษจะหารด้วย 1/8” หรือ 1/16” ส่วนของเมตริกจะแบ่งเป็น 10 ส่วน เท่ากับ 1 ซม. หารออกด้วย 10 จะได้มิลลิเมตร (10 มม.= 1 ซม.) 

เครื่องมือและอุปกรณ์ในงานไม้สำหรับการวัดในการใช้หน่วยเมตริก ดังรูปที่ 3.7 เป็นเครื่องมือที่สามารถสร้างทดแทนได้ เครื่องมือและอุปกรณ์บางชนิดไม่สามารถเปลี่ยนแปลงขนาดรูปร่างได้ เช่น เลื่อย สิ่ว หรือค้อน เป็นต้น ดังรูป 3.8 สำหรับเครื่องจักรกลในงานไม้ก็เช่นเดียวกันไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ และในการผลิตนิยมใช้หน่วยเมตริกเป็นหลัก  
โดยนายเริงฤทธิ์ วิชัยดิษฐ อาจารย์ 2 ระดับ 7 กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี 
โรงเรียนสุราษฎร์ธานี www.st.ac.th

0 ความคิดเห็น:

Copyright © 2013 woodworking in Thai and Blogger Templates - Anime OST.