มาตรฐานไม้

มาตรฐานของไม้ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมของกระทรวงอุตสาหกรรมหรือ มอก. ในปัจจุบันมีดังนี้
1. มอก.421 –2525 หมายถึง ไม้แปรรูปและข้อกำหนดทั่วไป
2. มอก.422 –2525 หมายถึง ไม้สักแปรรูป
3. มอก.423 –2525 หมายถึง ไม้กระยาเลยแปรรูป
4. มอก.424 –2525 หมายถึง ไม้แปรรูปสำหรับงานก่อสร้างทั่วไป
5. มอก.497 –2526 หมายถึง ไม้แปรรูปอบ
6. มอก.516 –2527 หมายถึง ไม้อัดน้ำยา CCA

ซึ่งในมาตรฐานดังกล่าวจะมีหัวข้อที่กล่าวมาถึงคือ
1. ขอบข่าย
2. บทนิยาม
3. ชั้นคุณภาพ
4. วัสดุและการทำ
5. คุณลักษณะที่ต้องการ
6. เครื่องหมายและฉลาก
7. การชักตัวอย่างและเกณฑ์ตัดสิน
มาตรฐานของไม้แปรรูปนั้น มีมิติ (ขนาด) เป็นมิลลิเมตร ซึ่งกำหนดตาม มอก.421-2535 เป็นดังนี้
1. ขนาด ไม้แปรรูปตามมาตรฐานนี้ มีขนาดดังต่อไปนี้
ความหนา : 12 , 16 , 19 , 22 , 25 , 32 , 38 , 44 , 50 , 63 , 75 , 88 , 100 , 113 , 125 , 138 , 150 และ 200

ความกว้าง : 25 , 38 , 50 , 63 , 75 , 88 , 100 , 113 , 125 , 150 , 175 , 200 , 225 ,250 , 275 , 300 , 350 และ 400 มิลลิเมตร
(ยกเว้นไม้สักเหลี่ยม ให้ถือตามขนาดไม้สักเหลี่ยมแปรรูป มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมไม้สักแปรรูปมาตรฐานเลขที่ มอก.422)

ความ ยาว : สำหรับไม้สัก เริ่มตั้งแต่ 0.30 เมตร และให้มีความยาวเพิ่มขึ้นช่วงละ 0.15 เมตร ส่วนไม้กระยาเลย เริ่มตั้งแต่ 0.30 เมตร และให้มีความยาวเพิ่มขึ้นช่วงล่ะ 0.30 เมตร

2. การเรียกชื่อขนาด ให้เรียกชื่อขนาดไม้เรียงลำดับดังนี้
ความหนา X ความกว้าง X ความยาว

3.การแปรรูป ต้องแปรรูปให้ส่วนยาวของไม้แปรรูป ขนานกับความยาวของท่อนซุง ด้านทั้ง

4. ด้านต้องเรียบเป็นแนวเส้นตรง มีขนาดสม่ำเสมอกันตลอดความยาวของแผ่น และภาคตัดขวางหัวท้ายต้องเป็นสี่เหลี่ยมมุมฉาก
source: Bansongthai.com
ฝ่ายวิจัยไม้กรมป่าไม้

0 ความคิดเห็น:

Copyright © 2013 woodworking in Thai and Blogger Templates - Anime OST.