ประดู่
source: ภาพ : ตาเชย, ชาวเหนือ, Cerlin Ng, anvitha17
ประดู่ เป็นไม้มีค่าทางเศษฐกิจ มีคุณภาพดี เพราะเนื้อแข็ง ปลวกไม่ทำลาย สีสวย ลวดลายงดงาม เนื้อละเอียดปานกลาง ตกแต่งขัดเงาได้ดี ใช้สร้างบ้านเรือน ทำเครื่องเรือน ทำเกวียน เรือ เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ เครื่องดนตรี เป็นต้น ทั้งนี้ ใบอ่อนและดอกประดู่ ยังนำมากินเป็นอาหารได้ด้วย
1.ประดู่ป่า เป็นต้นไม้ขนาดใหญ่ ไม่ค่อยแตกกิ่งก้านสาขา ทรงพุ่มไม่แผ่กว้าง กิ่งก้านตั้งขึ้น เปลือกสีน้ำตาลออกดำแตกเป็นระแหง เปลือกชั้นในมีน้ำยางสีแดง กิ่งอ่อนมีขนปกคลุม เมื่อกิ่งแก่ขนจะหายไป ออกดอกเป็นช่อตามปลายกิ่งหรือตามซอกใบ ช่อดอกมีขนาดใหญ่ แต่ไม่ค่อยดก ดอกสีเหลือง กลีบ ขนาดเล็ก มีกลิ่นหอมแรง ส่งกลิ่นไปได้ไกล ดอกจะบานและร่วงพร้อมกันทั้งต้น ปกติจะออกดอกช่วงเดือนมีนาคมถึงเมษายน
2.ประดู่บ้านหรือประดู่กิ่งอ่อน ลักษณะทั่วไปคล้ายประดู่ป่าข้างต้นแตกกิ่งก้านเป็นทรงพุ่มกว้างกว่า และปลายกิ่งห้อยลง เปลือกสีเทาเป็นร่องไม่มีน้ำยางสีแดง ใบขนาดเล็กกว่านิดหน่อย ดอกช่อเล็กกว่า ออกตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ออกดอกดกกว่าชนิดแรก สีเหลืองและกลิ่นหอมแรงเช่นเดียวกัน บานและร่วงพร้อมกันทั้งต้นเหมือนกัน ประดู่ชนิดนี้คนไทยนิยมนำมาปลูกมากกว่าชนิดแรก
ถิ่นที่อยู่ ประดู่ชนิดนี้เป็นพรรณไม้พื้นเมืองในอินเดียตะวันออกเฉียงเหนือ, พม่า, ลาว และเวียดนาม และเป็นพรรณไม้พื้นบ้านดั้งเดิมของไทยในไทยพบตามป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรังในทุกภาค ยกเว้นภาคใต้ (ประดู่บ้านจะพบในป่าเบญจพรรณทางภาคใต้ด้วย) โดยขึ้นในที่สูงจากระดับน้ำทะเล 100-600 เมตร ส่วนในพม่าพบขึ้นอยู่ตามพื้นที่ราบหรือเนินสูงต่ำ และพบขึ้นในที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 750 เมตร
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลำต้นสูง 15-30 เมตร หุ้มด้วยเปลือกหนาสีน้ำตาลซึ่งแตกสะเก็ดเป็นร่องลึก มีนํ้ายางมาก เรือนยอดเป็นพุ่มกลมทึบ กิ่งก้านมักไม่ห้อยระย้าอย่างประดู่บ้าน
ใบเป็นใบประกอบรูปขนนกเรียงสลับ ใบย่อยเยื้องสลับกัน 4-10 ใบ รูปไข่ถึงรูปขนาน กว้าง 2.5-5 เซนติเมตร ยาว 5-15 เซนติเมตร ปลายเป็นติ่ง โคนมน
ดอกมีสีเหลือง กลิ่นหอม ออกเป็นช่อยาว 10-20 เซนติเมตร ตามง่ามใบ ดอกจะออกช่วงมีนาคม-พฤษภาคม ช่อดอกมีขนาดใหญ่ แต่ไม่แตกกิ่งก้านแขนงมากอย่างประดู่บ้านผลมีลักษณะเหมือนรูปโล่แบนบาง ตรงกลางนูน เส้นผ่าศูนย์กลาง 6-10 เซนติเมตร ผลใหญ่กว่าประดู่บ้านมาก และมีขนปกคลุมทั่วไป การขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
สรรพคุณทางสมุนไพรทั้งประดูป่าและประดู่บ้าน คือ
1.ใบ ใช้สระผม พอก ฝี พอกแผล แก้ผดผื่นคัน
2.เปลือก ใช้สมานบาดแผล แก้ท้องเสีย บำรุงร่างกาย
3.แก่น แก้คุดทะราด แก้เสมหะ เลือดกำเดาไหล แก้ไข้ บำรุงเลือด บำรุงกำลัง ขับปัสสาวะ แก้ผื่นคัน
4.ผล แก้อาเจียน แก้ท้องร่วง มีรสฝาดสมาน
ประดู่มีเนื้อไม้สีแดงอมเหลือง เสี้ยนสนเป็นริ้ว เนื้อละเอียดปานกลาง มีลวดลายสวยงาม ใช้ทำเสา พื้นต่อเรือ เครื่องเรือน เครื่องดนตรี แก่นสีแดงคล้ำใช้ย้อมผ้า และเปลือกให้น้ำฝาดใช้ฟอกหนัง
ประดู่เป็นพันธุ์ไม้ที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคลประจำจังหวัดชลบุรี นอกจากนี้ยังเป็นต้นไม้และดอกไม้ประจำจังหวัดชลบุรีและจังหวัดระยอง
source: wikipedia.org,มูลนิธิหมอชาวบ้าน
ประดู่ เป็นไม้มีค่าทางเศษฐกิจ มีคุณภาพดี เพราะเนื้อแข็ง ปลวกไม่ทำลาย สีสวย ลวดลายงดงาม เนื้อละเอียดปานกลาง ตกแต่งขัดเงาได้ดี ใช้สร้างบ้านเรือน ทำเครื่องเรือน ทำเกวียน เรือ เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ เครื่องดนตรี เป็นต้น ทั้งนี้ ใบอ่อนและดอกประดู่ ยังนำมากินเป็นอาหารได้ด้วย
1.ประดู่ป่า เป็นต้นไม้ขนาดใหญ่ ไม่ค่อยแตกกิ่งก้านสาขา ทรงพุ่มไม่แผ่กว้าง กิ่งก้านตั้งขึ้น เปลือกสีน้ำตาลออกดำแตกเป็นระแหง เปลือกชั้นในมีน้ำยางสีแดง กิ่งอ่อนมีขนปกคลุม เมื่อกิ่งแก่ขนจะหายไป ออกดอกเป็นช่อตามปลายกิ่งหรือตามซอกใบ ช่อดอกมีขนาดใหญ่ แต่ไม่ค่อยดก ดอกสีเหลือง กลีบ ขนาดเล็ก มีกลิ่นหอมแรง ส่งกลิ่นไปได้ไกล ดอกจะบานและร่วงพร้อมกันทั้งต้น ปกติจะออกดอกช่วงเดือนมีนาคมถึงเมษายน
2.ประดู่บ้านหรือประดู่กิ่งอ่อน ลักษณะทั่วไปคล้ายประดู่ป่าข้างต้นแตกกิ่งก้านเป็นทรงพุ่มกว้างกว่า และปลายกิ่งห้อยลง เปลือกสีเทาเป็นร่องไม่มีน้ำยางสีแดง ใบขนาดเล็กกว่านิดหน่อย ดอกช่อเล็กกว่า ออกตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ออกดอกดกกว่าชนิดแรก สีเหลืองและกลิ่นหอมแรงเช่นเดียวกัน บานและร่วงพร้อมกันทั้งต้นเหมือนกัน ประดู่ชนิดนี้คนไทยนิยมนำมาปลูกมากกว่าชนิดแรก
ถิ่นที่อยู่ ประดู่ชนิดนี้เป็นพรรณไม้พื้นเมืองในอินเดียตะวันออกเฉียงเหนือ, พม่า, ลาว และเวียดนาม และเป็นพรรณไม้พื้นบ้านดั้งเดิมของไทยในไทยพบตามป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรังในทุกภาค ยกเว้นภาคใต้ (ประดู่บ้านจะพบในป่าเบญจพรรณทางภาคใต้ด้วย) โดยขึ้นในที่สูงจากระดับน้ำทะเล 100-600 เมตร ส่วนในพม่าพบขึ้นอยู่ตามพื้นที่ราบหรือเนินสูงต่ำ และพบขึ้นในที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 750 เมตร
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลำต้นสูง 15-30 เมตร หุ้มด้วยเปลือกหนาสีน้ำตาลซึ่งแตกสะเก็ดเป็นร่องลึก มีนํ้ายางมาก เรือนยอดเป็นพุ่มกลมทึบ กิ่งก้านมักไม่ห้อยระย้าอย่างประดู่บ้าน
ใบเป็นใบประกอบรูปขนนกเรียงสลับ ใบย่อยเยื้องสลับกัน 4-10 ใบ รูปไข่ถึงรูปขนาน กว้าง 2.5-5 เซนติเมตร ยาว 5-15 เซนติเมตร ปลายเป็นติ่ง โคนมน
ดอกมีสีเหลือง กลิ่นหอม ออกเป็นช่อยาว 10-20 เซนติเมตร ตามง่ามใบ ดอกจะออกช่วงมีนาคม-พฤษภาคม ช่อดอกมีขนาดใหญ่ แต่ไม่แตกกิ่งก้านแขนงมากอย่างประดู่บ้านผลมีลักษณะเหมือนรูปโล่แบนบาง ตรงกลางนูน เส้นผ่าศูนย์กลาง 6-10 เซนติเมตร ผลใหญ่กว่าประดู่บ้านมาก และมีขนปกคลุมทั่วไป การขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
สรรพคุณทางสมุนไพรทั้งประดูป่าและประดู่บ้าน คือ
1.ใบ ใช้สระผม พอก ฝี พอกแผล แก้ผดผื่นคัน
2.เปลือก ใช้สมานบาดแผล แก้ท้องเสีย บำรุงร่างกาย
3.แก่น แก้คุดทะราด แก้เสมหะ เลือดกำเดาไหล แก้ไข้ บำรุงเลือด บำรุงกำลัง ขับปัสสาวะ แก้ผื่นคัน
4.ผล แก้อาเจียน แก้ท้องร่วง มีรสฝาดสมาน
ประดู่มีเนื้อไม้สีแดงอมเหลือง เสี้ยนสนเป็นริ้ว เนื้อละเอียดปานกลาง มีลวดลายสวยงาม ใช้ทำเสา พื้นต่อเรือ เครื่องเรือน เครื่องดนตรี แก่นสีแดงคล้ำใช้ย้อมผ้า และเปลือกให้น้ำฝาดใช้ฟอกหนัง
ประดู่เป็นพันธุ์ไม้ที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคลประจำจังหวัดชลบุรี นอกจากนี้ยังเป็นต้นไม้และดอกไม้ประจำจังหวัดชลบุรีและจังหวัดระยอง
source: wikipedia.org,มูลนิธิหมอชาวบ้าน
0 ความคิดเห็น: