โครงสร้างเฟอร์นิเจอร์

โครงสร้างเฟอร์นิเจอร์ จากสถานการณ์วิกฤตทางด้านเศรษฐกิจที่ประเทศไทยได้ประสบมาในครั้งนี้ทำให้ หลายธุรกิจกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง แต่จะเห็นได้ว่าธุรกิจทางด้านเฟอร์นิเจอร์ถึงจะได้รับผลกระทบบ้างแต่ก็เพียง เล็กน้อย เพราะจากมูลค่าการส่งออกเฟอร์นิเจอร์ของสมาคมเครื่องเรือนไทยได้แสดงให้เห็น มูลค่าการส่งออกเป็นจำนวนมาก เพราะตั้งแต่วัตถุดิบ วัสดุอุปกรณ์และแรงงานที่ใช้ล้วนแต่เป็นของที่ผลิตในประเทศทั้งสิ้น

เฟอร์นิเจอร์จัดเป็นเครื่องใช้ภายในบ้านที่สำคัญอย่าง หนึ่ง ซึ่งทุกบ้านจะต้องมีเฟอร์นิเจอร์ไว้ใช้จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับฐานะและความ ต้องการหรือความชอบของแต่ละบุคคล บางบ้านมีเฟอร์นิเจอร์ไว้เพื่อตกแต่งบ้านให้สวยงามแต่บางบ้านมีไว้เพื่อใช้ งาน ซึ่งผู้ออกแบบเฟอร์นิเจอร์หรือผู้ผลิตทั้งหลายจะต้องคำนึงถึงกลุ่มเป้าหมาย ที่ตนเองจะต้องทำการค้าด้วยว่าจะเจาะกลุ่มเป้าหมายระดับไหน จะเห็นว่าเฟอร์นิเจอร์ที่จำหน่ายอยู่ในท้องตลาดทั่วไปมีมากมายหลายระดับและ หลายราคา

ความแตกต่างของราคานั้นเกิดจาก

  1. วัสดุที่ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์
  2. รูปแบบเฟอร์นิเจอร์
  3. ความแข็งแรง
  4. ความประณีตของงาน
วัสดุที่ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ ปัจจุบันวัสดุที่ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์มีการพัฒนาตลอดเวลา เนื่องจากวัตถุดิบที่เป็นเนื้อไม้จากธรรมชาติลดน้อยลงเป็นลำดับ และความต้องการของผู้ใช้มีสูงขึ้นทำให้วัตถุดิบที่เป็นเนื้อไม้จากธรรมชาติ เกิดการคลาดแคลน ดังนั้นจึงเกิดการวิจัยเพื่อการใช้เนื้อไม้ที่ได้จากธรรมชาติทุกส่วนมาผลิต เป็นแผ่นผลิตภัณฑ์ขึ้นและให้คุณสมบัติความทนทานและความแข็งแรงให้ใกล้เคียง ไม้ธรรมชาติที่สุด

ประเทศไทยนับว่าเป็นประเทศที่โชคดีมากประเทศหนึ่งที่สามารถปลูกไม้ ยางพาราเพื่อกรีดเอาน้ำยางจากต้นพารา และเกิดผลพลอยได้ที่เหลือหลังจากที่ต้นยางพาราดังกล่าวไม่สามารถให้น้ำยาง ได้หรือให้ปริมาณไม่มากพอต่อการลงทุนก้ทำการตัดต้นยางพาราแล้วนำเนื้อไม้มา ใช้ประโยชน์ในการผลิตเฟอร์นิเจอร์ ปัจจุบันประเทศไทยมีสวนยางซึ่งมากพอต่อการใช้ภายในประเทศ จึงเห็นว่าได้ว่าประเทศไทยยังเป็นประเทศที่มีศักยภาพที่ดีในหลายๆ ด้านในการผลิตเฟอร์นิเจอร์

ดังนั้นเฟอร์นิเจอร์ไม้จึงสามารถที่จะแยกออกตามประเภทของวัสดุที่ใช้ผลิตได้ 2 ประเภทคือ
1. เฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากไม้จริง (Solid) เช่นเก้าอี้ โต๊ะอาหาร
2. เฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากแผ่นผลิตภัณฑ์ เช่น ตู้เสื้อผ้า โต๊ะคอมพิวเตอร์

รูปแบบเฟอร์นิเจอร์ เมื่อจะกล่าวถึงด้านรูปแบบของเฟอร์นิเจอร์จะเห็นได้ว่านักออกแบบ เฟอร์นิเจอร์ของไทยมีความสามารถไม่น้อยหน้านักแแกแบบต่างประเทศ แต่เนื่องจากไม่ได้รับการสนับสนุนหรือการส่งเสริมหรือการประชาสัมพันธ์เป็นระบบจากภาครัฐ ตลอดจนในวงการอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์เอง ก็ไม่ค่อยสนับสนุนเท่าที่ควร ดรงงานเฟอร์นิเจอร์ที่ผลิตเพื่อการส่งออกของประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นโรงงาน เฟอร์นิเจอร์ที่ทำการรับจ้างผลิตสินค้าจากลูกค้าชาวต่างประเทศที่นำเอารูป แบบสินค้ามาจ้างผู้ผลิตในประเทศเป็นผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์เหล่านั้นให้แล้วทำ การส่งสินค้าไปให้กับลูกค้า จากนั้นลูกค้าก็ทำการติดสินค้าเหล่านั้นด้วยเครื่องหมายสินค้าของตนเอง ทำให้อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ส่วนใหญ่จึงเป็นเพียงผู้รับจ้างผลิตตลอดมา แนวทางแก้ไขคือต้องหาแนวทางที่จะขายเฟอร์นิเจอร์ของไทยในตลาดโลกด้วยเครื่อง หมายสินค้าของไทยเอง

มูลค่าของเฟอร์นิเจอร์ที่มีขึ้นนอกจากตัววัสดุที่ใช้ทำแล้วยังขึ้นอยู่ กับรูปแบบที่ออกแบบมาแล้วมีความสวยงามด้วยรูปทรงต่างๆ ขนาดของวัสดุที่ใช้ทำมีความเหมาะสม ขนาดทุกมิติมีความถูกต้องใช้งานสะดวก เช่นในการออกแบบเก้าอี้รับประทานอาหารจะต้องคำนึงถึงองค์ประกอบต่างๆ
  1. ความสูงจากพื้นถึงที่นั่ง  450 มม
  2. มุมเอียงของพนักพิง  105 องศา
  3. ความโค้งของพนักพิงรับแผ่นหลัง  r=550 มม
  4. ความสวยงามที่เน้นในทางศิลป
ความแข็งแรง  เมื่อจะกล่าวถึงความแข็งแรงของเฟอร์นิเจอร์ก็จะต้องเกี่ยวกับโครงสร้าง เฟอร์นิเจอร์ที่สร้างขึ้นมาแล้วต้องมีความแข็งแรงอยู่บนพื้นฐานของความสวย งามเหมาะสมกับเฟอร์นิเจอร์ชนิดนั้นๆ ซึ่งผู้ที่จะออกแบบโดยคำนึงถึงความแข็งแรงจะต้องมีความเข้าใจดีถึงชนิดของ วัสดุและอุปกรณ์ที่จะนำมาใช้มีความเหมาะสมกับรูปแบบนั้นเพียงใด

โครงสร้างเฟอร์นิเจอร์แบ่งออกเป็น
  1. โครงสร้างที่ไม่มีการถอดประกอบ เป็นโครงสร้างของเฟอร์นิเจอร์ที่ถูกประกอบสำเร็จเป็นรูปร่างของเฟอร์นิเจอร์ นั้นมาจากโรงงาน เฟอร์นิเจอร์ชนิดนี้จะมีความแข็งแรงมากกว่าเฟอร์นิเจอร์ชนิดถอดประกอบได้ เพราะในขั้นตอนการผลิตสามารถที่จะใช้เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพและมี บุคคลากรที่มีความชำนาญในการทำและโครงสร้างส่วนใหญ่จะมีเดือยเป็นตัวยึด ระหว่างชิ้นส่วนเฟอร์นิเจอร์นั้น ซึ่งเดือยแต่ละส่วนก็จะมีขนาดและรูปร่างที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับรูปแบบและ ลักษณะการใช้สอยของแต่ละตำแหน่ง เช่นรับพื้นข้างของเก้าอี้ที่จะต้องเข้าเดือยกับขาหน้าและขาหลังเพื่อประกอบ เป็นตัวแผงข้างของเก้าอี้ รูปร่างของเดือยรับพื้นข้างที่จะเข้าขาหน้าและขาหลังก็จะมีความแตกต่างกัน
  2. โครงสร้างที่มีการถอดประกอบเป็นโครงสร้างที่ผู้ซื้อหรือผู้บริโภคเมื่อ จัดซื้อไปแล้วสามารถที่จะประกอบใช้งานเองได้ตามคำแนะนำที่ติดมาภายในกล่อง โดยมีอุปกรณ์(Fitting) ให้มาเพื่อใช้เป็นตัวยึดแต่ละส่วนให้ติดกัน รูปแบบของเฟอร์นิเจอร์ที่ถอดประกอบได้นี้จะเป็นเฟอร์นิเจอร์ที่มีโครงสร้าง แบบง่ายๆ มีชิ้นส่วนไม่มาก ส่วนใหญ่จะใช้วัสดุที่เป็นแผ่นผลิตภัณฑ์ เช่นแผ่นปาติเกิล แผ่นใยไม้ความหนาแน่นปานกลาง(MDF) แผ่นไม้อัด แผ่นโครงไม้อัดหรือไม้จริงปิดทับด้วยแผ่นไม้อัด หรืองานที่ทำด้วยไม้จริงแบบถอดประกอบได้เช่น โต๊ะอาหาร
สิ่งที่ควรคำนึงถึงสำหรับการออกแบบเฟอร์นิเจอร์ชนิดถอดประกอบไม่ได้ และถอดประกอบได้ที่ทำด้วยวัสดุที่แตกต่างกันคือ

1. ลักษณะรูปร่างของโครงสร้าง
   1.1 โครงสร้างที่ทำจากไม้จริง ต้องมีเดือย สลักเดือย รางลิ้น Fitting
   1.2 โครงสร้างที่ทำจากแผ่นผลิตภัณฑ์ ต้องใช้ฟิตติ้งชนิดต่างๆ เช่นตะปูเกลียว

2. ความประณีตระหว่างรอยต่อของแต่ละชิ้นส่วน
   2.1  โครงสร้างที่ทำจากไม้จริง ต้องคำนึงถึงผิวงาน รอยต่อชนระหว่างชิ้นส่วน(ตกบ่า) การตีลาย ความโค้งเว้าของชิ้นส่วน
   2.2  โครงสร้างที่ทำจากแผ่นผลิตภัณฑ์ ต้องคำนึงถึงรอยต่อชนเพื่อความแข็งแรง วัสดุที่ใช้ปิดขอบ รอยต่อของแผ่นเมลามีน

3. ความแข็งแรง
   3.1 โครงสร้างที่ทำจากไม้จริง ต้องคำนึงถึงขนาดหน้าตัดของชิ้นส่วนในแต่ละตำแหน่งงาน ขนาดและชนิดของเดือยที่จะเลือกใช้
   3.2 โครงสร้างที่ทำจากแผ่นผลิตภัณฑ์ ต้องคำนึงถึงกรอบโครงสร้างภายใน ชนิดของฟิตติ้งที่เลือกใช้ ชนิดของแผ่นผลิตภัณฑ์ที่ใช้

4. ความแม่นยำ
   4.1 โครงสร้างที่ทำจากไม้จริง ต้องคำนึงถึงขนาดเดือยและรูเดือย ตำแหน่งรูเดือย ระยะมุมเอียงของบ่าเดือย รัศมีความโค้งของชิ้นส่วน
   4.2 โครงสร้างที่ทำจากแผ่นผลิตภัณฑ์ต้องคำนึงถึงความแม่นยำของรูที่ใส่ฟิตติ้ง ระยะห่าง ความลึก

5. วิธีการผลิต
   5.1 โครงสร้างที่ทำจากไม้จริง ต้องคำนึงถึงความสามารถในการขึ้นรูปของเครื่องจักรที่มีอยู่ ความปลอดภัย ระยะเวลาในการผลิตชิ้นส่วนนั้น
   5.2 โครงสร้างที่ทำจากแผ่นผลิตภัณฑ์ ต้องคำนึงถึงความสามารถในการตัดมุมฉาก ชนิดของใบตัด ชนิดของดอกเจาะ น้ำหนักเบา

6. วิธีการประกอบ
   6.1 โครงสร้างที่ทำจากไม้จริง ต้องคำนึงถึงขั้นตอนในการประกอบแต่ละชิ้นส่วน จิ๊กและฟิกเจอร์ที่ใช้ในการประกอบ ระยะเวลาในการแข็งตัวของกาว การยึดรอยต่อด้วยตะปู รอยตำหนิที่จะเกิดกับผิวงาน รอยกาว
   6.2 โครงสร้างที่เกิดจากแผ่นผลิตภัณฑ์ ต้องคำนึงถึงระยะขอบของชิ้นงาน ขนาดของดอกเจาะดูด รอยตำหนิที่จะเกิดกับผิวงาน รอยกาว

7. ความสวยงาม
   7.1 โครงสร้างที่ทำจากไม้จริงต้องคำนึงถึงคุณภาพของผิงงาน คุณภาพของการย้อมสีผิว การคัดเลือกสีไม้
   7.2 โครงสร้างที่ทำจากแผ่นผลิตภัณฑ์ ต้องคำนึงถึงรอยขีดข่วนบนผิวงาน คุณภาพการปิดแผ่นลามิเนท ความกลมกลืนของวัสดุปิดขอบไม้ สีของแผ่นลามิเนทที่เลือกใช้ให้กลมกลืนกับงานที่จะนำไปใช้

0 ความคิดเห็น:

Copyright © 2013 woodworking in Thai and Blogger Templates - Anime OST.