ปลูกป่าไม้ สร้างชีวิต
ปลูกป่าไม้ สร้างชีวิต
โครงการป่าไม้ชุมชน ที่ส่งเสริมให้ราษฎรและชาวไร่ปลูกป่าในที่รกร้างว่าเปล่าหรือที่หัว ไร่ปลายนา เมื่อดำเนินการเต็มรูปแล้วปัญหาเรื่องการขาดแคลนไม้ ไม้ฟืน และไม้ใช้สอยก็จะบรรเทาเบาบางลงได้ อย่างไรก็ดี การที่จะป้องกันรักษาป่าไม้อันเป็นทรัพยากรธรรมชาติล้ำค่าของเรานั้น จำเป็นจะต้องอาศัยความร่วมมือของหน่วยราชการและประชาชนทุกฝ่าย มิ ฉะนั้น ป่าไม้จะต้องหมดไปจากประเทศไทยอย่างไม่มีปัญหา การให้การศึกษาอบรมแก่เยาวชนทุกระดับชั้น เพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญและคุณประโยชน์ของทรัพยากรป่าไม้ และทรัพยากรธรรมชาติที่มีค่าทุกประเภท
ตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ และให้ความร่วมมือกับรัฐในการอนุรักษ์ยิ่งขึ้น จำเป็นอย่างยิ่งที่รัฐบาลจะต้องปรับปรุงนโยบายเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติที่ กระทรวงต่าง ๆ ถือปฏิบัติอยู่ให้สอดคล้องไม่ขัดแย้งซึ่งกันและกัน ดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เช่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีนโยบายจะสงวนและรักษาป่าไม้ไว้ให้ได้ร้อยละ 40 ของเนื้อที่ประเทศ ส่วนกระทรวงมหาดไทย มีนโยบายจะเปิดที่ป่าไม้เพื่อให้ราษฎรทำกิน
กระทรวง คมนาคม ตัดเส้นทางผ่านป่าไม้ที่สมบูรณ์ โดยมิได้วางแผนการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ทำให้ ป่าไม้สองข้างทาง คมนาคมถูกบุกรุกทำลายอย่างรุนแรงเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยและเพาะปลูก กระทรวงอุตสาหกรรม อนุญาตให้ตั้งโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบ จากพืชผลทางการเกษตร เช่น โรงงานแป้งมันสำปะหลัง โรงงานน้ำตาล โดยมิ ได้ประสานงานกับ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ป่าที่สมบูรณ์จึงถูกบุกรุกทำลายเป็นไร่มันสำปะหลังและไร่อ้อยเป็น จำนวนมาก
ความสำคัญของป่าไม้
1.สำคัญ ต่อระบบนิเวศวิทยา ป่าไม้ช่วยป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน ทำให้ดินอุดมสมบูรณ์ เป็นต้นน้ำลำธาร เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า เป็นต้น
2.สำคัญด้านเศรษฐกิจ ป่าไม้ให้ผลผลิตที่นำมาใช้ประโยชน์ต่อมนุษย์ได้อย่างมากมาย
3.สำคัญด้านนันทนาการ ป่าไม้เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจของมนุษย์ เป็นแหล่งศึกษาธรรมชาติวิทยา
ด้วยความเชื่อที่ว่า “ต้นทางดีจะก่อให้เกิดผลลัพธ์ปลายทางที่ดี” บริษัทจึงมุ่งมั่น ใส่ใจดำเนินธุรกิจผลิตไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ ควบคู่ไปกับการดูแลสิ่งแวดล้อม พัฒนาชุมชนและสังคม เพื่อรักษาดุลยภาพทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม อันจะนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศ โดยความรับผิดชอบต่อสังคมของเอ็กโก กรุ๊ป ได้สะท้อนผ่านการดำเนินงานด้านต่างๆ
ด้วย ลักษณะ ธุรกิจผลิตไฟฟ้าที่ต้องอาศัยทรัพยากรธรรมชาติเป็นปัจจัยตั้งต้น เอ็กโก กรุ๊ป จึงตระหนักดีถึงความสำคัญของการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดและมีผล กระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด โดยเน้นการใช้เทคโนโลยีในกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมไปกับการปลูกฝังให้พนักงานมีสำนึกสาธารณะในการคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่ง แวดล้อมควบคู่ไปกับการปฏิบัติงานในหน้าที่ เพื่อรักษาสภาพแวดล้อมให้เกิดดุลยภาพที่เกื้อกูลและเอื้อประโยชน์ต่อการอยู่ ร่วมกันของทุกฝ่าย
“ การปลูกป่าด้วยหัวใจ และการปลูกหัวใจคนรักป่า” ของ ปตท.นั้น เริ่มต้นในปี พ.ศ. 2537 เมื่อรัฐบาลมีนโยบายสนองพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงวิตกห่วงใยราษฎรทั่วประเทศในการขาดแคลนน้ำ จึงจัดทำโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์ ปีที่ 50 ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะฟื้นฟูสภาพป่าเสื่อมโทรม ในบริเวณพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ซึ่งเป็นต้นน้ำลำธารทั่วประเทศ จำนวน 5 ล้านไร่ ซึ่งปตท.ได้อาสา ปลูกป่าจำนวน 1 ล้านไร่ เพื่อถวายเป็นราชสักการะในวโรกาสอันเป็นมงคลยิ่งนี้
ปลูก ป่าได้มากว่าต้นไม้ เป็น สิ่งที่ปรากฏอย่างชัดแจ้งให้คนไทยได้เห็น และร่วมภาคภูมิใจกับสิ่งที่ได้รับ เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 ปตท.ได้น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติฯ แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ยังความปลื้มปิติต่อปตท.และประชาชนชาวไทยอย่างหาที่สุดมิได้ เพราะผืนป่าสมบูรณ์ที่กลับคืนมาทำให้เกิดการพึ่งพาร่วมกันระหว่าง คน น้ำ ป่า เกิดเป็นเครือข่าย ชุมชนเข้มแข็ง
ปัจจุบันปตท.ยังคงดำเนินการต่อเนื่องจากการปลูกป่า 1 ล้านไร่ โดยแบ่งออกเป็น 2 งานหลักๆ คือ โครงการรักษาป่าระยะยาว ดำเนินการโครงการหมู่บ้าน ปตท.พัฒนา จำนวน 10 หมู่บ้าน และทำกิจกรรมเพื่อความอยู่รอดของป่า 3 กิจกรรม คือ การอบรมยุวชน ปตท. รักษาป่า การอบรมอาสาสมัครป้องกันไฟป่า และการอบรมราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่า (รสทป.) นอกจากนั้น ด้วยวิธีการปลูกป่าไปพร้อมกับการปลูกคนเพื่อให้ป่าอยู่รอด สร้างความรักความผูกพันผืนป่ากับชุมชน ควบคู่กับการพัฒนาชีวิต ปตท.ได้ต่อยอดการร่วมดูแลผืนป่าของตนด้วยจิตสำนึกที่หวงแหนป่า ด้วยการร่วมจัดประกวด “รางวัลลูกโลกสีเขียว” จัดสร้างศูนย์การศึกษาเรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลนสิรินาถราชินี และ โครงการเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูหัว ในวโรกาสทรงเจริญพระชนมมายุ 80 พรรษา “รักษ์ป่า สร้างคน 84 ตำบล วิถีพอเพียง “ เป็นโครงการต่อเนื่อง เพื่อสร้างสังคมให้เข้มแข็งและยั่งยืน
เพลงประกอบโฆษณาปตท:
เพลง ดินแดนแห่งนั้น
ร้องโดย ชิดชนก มัญชุรัตน์
โครงการป่าไม้ชุมชน ที่ส่งเสริมให้ราษฎรและชาวไร่ปลูกป่าในที่รกร้างว่าเปล่าหรือที่หัว ไร่ปลายนา เมื่อดำเนินการเต็มรูปแล้วปัญหาเรื่องการขาดแคลนไม้ ไม้ฟืน และไม้ใช้สอยก็จะบรรเทาเบาบางลงได้ อย่างไรก็ดี การที่จะป้องกันรักษาป่าไม้อันเป็นทรัพยากรธรรมชาติล้ำค่าของเรานั้น จำเป็นจะต้องอาศัยความร่วมมือของหน่วยราชการและประชาชนทุกฝ่าย มิ ฉะนั้น ป่าไม้จะต้องหมดไปจากประเทศไทยอย่างไม่มีปัญหา การให้การศึกษาอบรมแก่เยาวชนทุกระดับชั้น เพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญและคุณประโยชน์ของทรัพยากรป่าไม้ และทรัพยากรธรรมชาติที่มีค่าทุกประเภท
ตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ และให้ความร่วมมือกับรัฐในการอนุรักษ์ยิ่งขึ้น จำเป็นอย่างยิ่งที่รัฐบาลจะต้องปรับปรุงนโยบายเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติที่ กระทรวงต่าง ๆ ถือปฏิบัติอยู่ให้สอดคล้องไม่ขัดแย้งซึ่งกันและกัน ดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เช่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีนโยบายจะสงวนและรักษาป่าไม้ไว้ให้ได้ร้อยละ 40 ของเนื้อที่ประเทศ ส่วนกระทรวงมหาดไทย มีนโยบายจะเปิดที่ป่าไม้เพื่อให้ราษฎรทำกิน
กระทรวง คมนาคม ตัดเส้นทางผ่านป่าไม้ที่สมบูรณ์ โดยมิได้วางแผนการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ทำให้ ป่าไม้สองข้างทาง คมนาคมถูกบุกรุกทำลายอย่างรุนแรงเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยและเพาะปลูก กระทรวงอุตสาหกรรม อนุญาตให้ตั้งโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบ จากพืชผลทางการเกษตร เช่น โรงงานแป้งมันสำปะหลัง โรงงานน้ำตาล โดยมิ ได้ประสานงานกับ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ป่าที่สมบูรณ์จึงถูกบุกรุกทำลายเป็นไร่มันสำปะหลังและไร่อ้อยเป็น จำนวนมาก
ความสำคัญของป่าไม้
1.สำคัญ ต่อระบบนิเวศวิทยา ป่าไม้ช่วยป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน ทำให้ดินอุดมสมบูรณ์ เป็นต้นน้ำลำธาร เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า เป็นต้น
2.สำคัญด้านเศรษฐกิจ ป่าไม้ให้ผลผลิตที่นำมาใช้ประโยชน์ต่อมนุษย์ได้อย่างมากมาย
3.สำคัญด้านนันทนาการ ป่าไม้เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจของมนุษย์ เป็นแหล่งศึกษาธรรมชาติวิทยา
ด้วยความเชื่อที่ว่า “ต้นทางดีจะก่อให้เกิดผลลัพธ์ปลายทางที่ดี” บริษัทจึงมุ่งมั่น ใส่ใจดำเนินธุรกิจผลิตไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ ควบคู่ไปกับการดูแลสิ่งแวดล้อม พัฒนาชุมชนและสังคม เพื่อรักษาดุลยภาพทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม อันจะนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศ โดยความรับผิดชอบต่อสังคมของเอ็กโก กรุ๊ป ได้สะท้อนผ่านการดำเนินงานด้านต่างๆ
ด้วย ลักษณะ ธุรกิจผลิตไฟฟ้าที่ต้องอาศัยทรัพยากรธรรมชาติเป็นปัจจัยตั้งต้น เอ็กโก กรุ๊ป จึงตระหนักดีถึงความสำคัญของการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดและมีผล กระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด โดยเน้นการใช้เทคโนโลยีในกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมไปกับการปลูกฝังให้พนักงานมีสำนึกสาธารณะในการคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่ง แวดล้อมควบคู่ไปกับการปฏิบัติงานในหน้าที่ เพื่อรักษาสภาพแวดล้อมให้เกิดดุลยภาพที่เกื้อกูลและเอื้อประโยชน์ต่อการอยู่ ร่วมกันของทุกฝ่าย
“ การปลูกป่าด้วยหัวใจ และการปลูกหัวใจคนรักป่า” ของ ปตท.นั้น เริ่มต้นในปี พ.ศ. 2537 เมื่อรัฐบาลมีนโยบายสนองพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงวิตกห่วงใยราษฎรทั่วประเทศในการขาดแคลนน้ำ จึงจัดทำโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์ ปีที่ 50 ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะฟื้นฟูสภาพป่าเสื่อมโทรม ในบริเวณพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ซึ่งเป็นต้นน้ำลำธารทั่วประเทศ จำนวน 5 ล้านไร่ ซึ่งปตท.ได้อาสา ปลูกป่าจำนวน 1 ล้านไร่ เพื่อถวายเป็นราชสักการะในวโรกาสอันเป็นมงคลยิ่งนี้
ปลูก ป่าได้มากว่าต้นไม้ เป็น สิ่งที่ปรากฏอย่างชัดแจ้งให้คนไทยได้เห็น และร่วมภาคภูมิใจกับสิ่งที่ได้รับ เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 ปตท.ได้น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติฯ แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ยังความปลื้มปิติต่อปตท.และประชาชนชาวไทยอย่างหาที่สุดมิได้ เพราะผืนป่าสมบูรณ์ที่กลับคืนมาทำให้เกิดการพึ่งพาร่วมกันระหว่าง คน น้ำ ป่า เกิดเป็นเครือข่าย ชุมชนเข้มแข็ง
ปัจจุบันปตท.ยังคงดำเนินการต่อเนื่องจากการปลูกป่า 1 ล้านไร่ โดยแบ่งออกเป็น 2 งานหลักๆ คือ โครงการรักษาป่าระยะยาว ดำเนินการโครงการหมู่บ้าน ปตท.พัฒนา จำนวน 10 หมู่บ้าน และทำกิจกรรมเพื่อความอยู่รอดของป่า 3 กิจกรรม คือ การอบรมยุวชน ปตท. รักษาป่า การอบรมอาสาสมัครป้องกันไฟป่า และการอบรมราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่า (รสทป.) นอกจากนั้น ด้วยวิธีการปลูกป่าไปพร้อมกับการปลูกคนเพื่อให้ป่าอยู่รอด สร้างความรักความผูกพันผืนป่ากับชุมชน ควบคู่กับการพัฒนาชีวิต ปตท.ได้ต่อยอดการร่วมดูแลผืนป่าของตนด้วยจิตสำนึกที่หวงแหนป่า ด้วยการร่วมจัดประกวด “รางวัลลูกโลกสีเขียว” จัดสร้างศูนย์การศึกษาเรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลนสิรินาถราชินี และ โครงการเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูหัว ในวโรกาสทรงเจริญพระชนมมายุ 80 พรรษา “รักษ์ป่า สร้างคน 84 ตำบล วิถีพอเพียง “ เป็นโครงการต่อเนื่อง เพื่อสร้างสังคมให้เข้มแข็งและยั่งยืน
เพลงประกอบโฆษณาปตท:
เพลง ดินแดนแห่งนั้น
ร้องโดย ชิดชนก มัญชุรัตน์
0 ความคิดเห็น: